สังกัด กระทรวงมหาดไทย
   หัวหน้าหน่วยราชการ นายชจรศักดิ์  สมบูรณ์
   ที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอนามน ถนน รพช.4052 กส 46230
   เบอร์โทรศัพท์ ,โทรสาร 0-4386-7037
   อำนาจหน้าที่รับผิดชอบ งานทะเบียนราษฎร์ ฯลฯ

 

 

 

 

 

 
ข้อมูลทั่วไปของอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

1. ประวัติความเป็นมาของอำเภอนามน
เดิมบ้านนามนตั้งอยู่ในเขตของอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้ขอแยกเป็นกิ่งอำเภอนามน มี 3 ตำบล  คือ  ตำบนนามน   ตำบลยอดแกง ตำบลสงเปลือย ต่อมากระทรวงมหาดไทยจึงได้ขอประกาศตั้งกิ่งอำเภอนามนเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 ทางราชการได้จัดส่งเจ้าหน้าที่แผนกต่าง ๆ มาปฏิบัติราชการเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2516  และเนื่องจากยังไม่มีอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอ ได้อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนนามนราษฎร์สงเคราะห์เป็นที่ทำการ จนกระทั่งปี ด.ศ. 2519   ได้มีการจัดสร้างอาคารที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ถาวร ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2530

"คำขวัญของอำเภอ"
ราชภัฎโอ่อ่า อ่างมโนราห์กลางดง
ลอยกระทง หนองคอนเตรียม
ดินดีเยี่ยม หนองดินจี่
ผ้ามัดหมี่ หนองบัวใน
ห้วยหนองใหญ่ แหล่งประมง

2. สภาพทั่วไป
   
2.1 ที่ตั้ง
ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลนามน จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2516 โดยแยกจากอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2530 เป็นอำเภอชั้น 4 ลักษณะที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกาฬสินธุ์ ห่างจากตัวจังหวัดระยะทาง 42 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 552  กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 281.734  ตารางกิโลเมตร (142,812.5 ไร่)

อาณาเขต
ทิศเหนือ จดอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง
ทิศใต้ จดกิ่งอำเภอดอนจาน
ทิศตะวันออก จดอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอโพธิ์ชัย  จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก จดอำเภอสมเด็จ

ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป
โดยทั่วไปเป็นที่ดอน ดินปนทราย
* ที่ราบ ประมาณร้อยละ 13.5 ของพื้นที่อำเภอทั้งหมด
* ภูเขา ประมาณร้อยละ 0.5 ของพื้นที่อำเภอทั้งหมด
* ที่ดอน ประมาณร้อยละ 70 ของพื้นที่อำเภอทั้งหมด
* พื้นน้ำ ประมาณร้อยละ 1.2 ของพื้นที่อำเภอทั้งหมด
* อื่น ๆ ประมาณร้อยละ 15.8 ของพื้นที่อำเภอทั้งหมด
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของอำเภอ(รวมทั้งอุณหภูมิโดยเฉลี่ย) ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน จะแล้งมากช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายนของทุกปี  ฤดูฝน ฝนไม่ตกตามฤดูตามฤดูกาล แต่จะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน ส่วนฤดูหนาวค่อนข้างหนาวจัด และมีลมรุนแรงอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 38.1 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนรวมทั้งปี 1,018.3 มิลลิเมตร

    
2.2 หน่วยการปกครอง
แบ่งการปกครองตามการปกครองท้องที่ เป็น 5 ตำบล 66 หมู่บ้าน มีกำนัน ผู้ใหญ่
บ้าน 66คน
 

ที่

ตำบล

พื้นที่

จำนวนหมู่บ้าน

รวม

หมายเหตุ

(..กม.)

หมู่บ้านปกติ

หมู่บ้าน อพป.

1

นามน

49

15

-

15

 

2

ยอดแกง

58.6

17

1

18

 

3

สงเปลือย

50.3

11

5

16

 

4

หลักเหลี่ยม

46

7

3

10

 

5

หนองบัว

42

5

3

8

 

รวม

281.734

54

12

67

 

แบ่งการปกครองตามการปกครองท้องถิ่น 1 เทศบาล คือเทศบาลตำบลนามนและองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง ประกอบด้วย อบต.ยอดแกง
อบต.สงเปลือย อบต.หลักเหลี่ยม อบต.หนองบัว และ อบต.นามน สมาชิก อบต. 112 คน

ชื่อสินค้าประจำตำบล
ตำบลยอดแกง มี ข้าวซ้อมมือ,ทอผ้าพื้นบ้าน
ตำบลสงเปลือย มี ทำดอกไม้จันทร์,ทำฝาอ้อ
ตำบลหลักเหลี่ยม มี ทอผ้าไหม,ทอผ้าพื้นบ้าน,ขนมหวาน
ตำบลหนองบัว มี ทอผ้าไหมมัดหมี่,เข่งปลาทู
ตำบลนามน มี ทอผ้าพื้นบ้าน,ผ้าไหมมัดหมี่

   
 2.3 การใช้พื้นที่และการถือครองที่ดินทางการเกษตร
          - พื้นที่สาธารณะ 4,739 ไร่
          - พื้นที่ทำนา 63,335 ไร่
          - พื้นที่ทำสวน 3,692 ไร่
          - พื้นที่ทำไร่ 24,695 ไร่

    
2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
แร่ธาตุ ยังไม่ปรากฏว่ามีการค้นพบ หรือใช้ประโยชน์แต่อย่างใด
ป่าไม้ มีป่าสงวนแห่งชาติดงแม่เผด เนื้อที่ประมาณ 34,800 ไร่ และป่าหวงห้าม
ดงโต่งโต้น ปัจจุบันปรากฏว่าป่าดังกล่าวเป็นป่าเสื่อมโทรมมากเนื่องจาก
ราษฎรบุกรุกทำไร่มันสำปะหลัง และไร่อ้อย

3. สภาพทางการเมืองและการปกครอง
    
3.1 โครงสร้างการบริหารราชการ
ส่วนราชการในพื้นที่ (มีสำนักงานอยู่นอกที่ว่าการอำเภอ)
1. สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนามน
2. โรงพยาบาลชุมชนนามน
3. สำนักงานเกษตรอำเภอนามน
4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนามน
5. สำนักงานสหกรณ์อำเภอนามน
6. สถานีตำรวจภูธรอำเภอนามน
7. หน่วยไฟฟ้าย่อยอำเภอนามน
หน่วยราชการในพื้นที่ (มีสำนักงานตั้งอยู่ในที่ว่าการอำเภอนามน)
8. สำนักงานพัฒนาชุมชน
9. สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ
10. สำนักงานสรรพากรอำเภอ
11. สำนักงานสรรพสามิตร
12. สำนักงานที่ดินอำเภอ
13. สำนักงานสัสดีอำเภอ
14. สำนักงานป่าไม้อำเภอ
15. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ
3.2 โครงสร้างบริหารงาน

รายชื่อผู้บังคับบัญชาเริ่มแต่ก่อตั้งอำเภอนามน(หน.กิ่งอำเภอนามน)
1. นายพิจารณ์ รัตนจันทร์ แต่ พ.ศ. 4 ต.ค. 2516 ถึง 12 ก.พ. 2518
2. ร.ต.เชวง เชื้อโชติ แต่ พ.ศ. 12 ก.พ. 2518 ถึง 17 มี.ค. 2521
3. นายชดิล แสนศักดิ์ แต่ พ.ศ. 8 ต.ค. 2521 ถึง 20 มี.ค. 2523
4. นายเทพ บุรมี แต่ พ.ศ. 20 มี.ค. 2523 ถึง 18 พ.ค. 2524
5. นายวุฒิศักดิ์ ฉายศิลา แต่ พ.ศ. 18 พ.ค. 2524 ถึง 19 มิ.ย. 2524
6. นายชาญชัย บุญฆารยะ แต่ พ.ศ. 19 มิ.ย. 2524 ถึง 9 มี.ค. 2525
7. นายเรืองศักดิ์ ตราชูกุล แต่ พ.ศ. 9 มี.ค. 2525 ถึง 21 มี.ค. 2526
8. นายเนาวรัตรน์ บุญหล้า แต่ พ.ศ. 21 มี.ค. 2526 ถึง 6 ก.พ. 2527
9. นายไพศาล สุทธิแสวง แต่ พ.ศ. 6 ก.พ. 2527 ถึง 29 ม.ค. 2529
10. นายขวัญชัย ศิริรัตน์ แต่ พ.ศ. 3 ก.พ. 2529 ถึง 9 พ.ย. 2530
11. นายเกษม วัฒนธรรม แต่ พ.ศ. 9 พ.ย. 2530 ถึง 13 ก.พ. 2531

นายอำเภอนามน
1. นายเกษม วัฒนธรรม แต่ พ.ศ. 14 ก.ย. 2541 ถึง 19 มิ.ย. 2532
2. ร.ต.พิสิฎธิ์ เอกปิยะกุล แต่ พ.ศ. 19 มิ.ย. 2532 ถึง 1 ก.ค. 2533
3. นายดุสิต พลพินิจ แต่ พ.ศ. 2 ก.ค. 2533 ถึง 11 พ.ย. 2534
4. นายสมใจ ไวปรีชี แต่ พ.ศ. 11 พ.ย. 2534 ถึง 17 มิ.ย. 2539
5. นายประศาสน์ ประเสริฐยิ่ง แต่ พ.ศ. 17 พ.ย. 2539 ถึง 9 ธ.ค. 2542
6. นายวรภัทร์ ตั้งตราตระกูล แต่ พ.ศ. 29 พ.ย. 2542 ถึง 11 ธ.ค. 2544
7. นายวิสิทธิ์ สินลือนาม แต่ พ.ศ. 11 ธ.ค. 2544 ถึง 16 ธ.ค. 2545
8. นายอนุชิต จันทนวรานน ท์ แต่ พ.ศ. 23 ธ.ค. 2545-พ.ศ.2546
9. นายแพน พรไตรศักดิ์ แต่ พ.ศ.2546-พ.ศ.2548
10. นายวงเทพ  เขมวิรัตน์ พ.ศ.2548-ปัจจุบัน

นโยบายหลักของแต่ละแห่ง(อำเภอ,อบต.)
1. สร้างแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เอาชนะความยากจน
2. ปราบปรามคอรัปชั่น
3. ปราบปรามผู้มีอิทธิพล
4. ป้องกันยาเสพติด

นโยบายหลักของ อบต. ทั้ง 5 อบต.
1. สร้างแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เอาชนะความยากจน
2. ปราบปรามคอรัปชั่น
3. ปราบปรามผู้มีอิทธิพล
4. ป้องกันยาเสพติด

ประชากร

ที่

ตำบล

ประชากร

ชาย

หญิง

รวม

1

นามน

2,277

2,183

4,460

2

ยอดแกง

4,081

4,126

8,207

3

สงเปลือย

3,851

3,975

7,826

4

หลักเหลี่ยม

2,863

2,764

5,627

5

หนองบัว

2,103

2,072

4,175

รวมทั้งอำเภอ

15,175

15,120

30,295

4.สภาพทางเศรษฐกิจ
 
4.1 เงินฝากและสินเชื่อ
ด้านธนาคาร มีหน่วย ธ.ก.ส. อยู่ในเขตพื้นที่ 1 แห่ง

 
4.2 พืชเศรษฐกิจและการปศุสัตว์
   การเกษตร ชาวอำเภอนามนยึดถืออาชีพการเกษตรถึง 4,926 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตร 91,716 ไร่ ซึ่งเกษตรกรจะปลูกข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และอื่น ๆ ซึ่งปริมาณรองลงมาตามลำดับด้านการปศุสัตว์ ชาวนามนจะเลี้ยงโค - กระบือ ไว้ใช้งานเป็นส่วนมาก และไว้จำหน่ายเป็นบางหมู่บ้าน ซึ่งก็มีจำนวนไม่มากนัก นอกจากนี้หน่วยงานทางราชการยังได้ส่งเสริมให้ราษฎรจัดตั้งธนาคารโค - กระบือ   และยังมีการเลี้ยงสุกร เป็ด ไก่ กระจายตามหมู่บ้านต่าง ๆ แต่ก็มีจำนวนไม่มากนักหรือมีขนาดไม่ใหญ่พอในการดำเนินธุรกิจเป็นอาชีพได้ด้านประมง  ชาวนามนจะไม่มีการดำเนินการด้านประมงมากนัก นอกจากมีตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และบ่อน้ำของตัวเอง และหนองน้ำตามไร่นาของตัวเองเท่านั้น

 
4.3 ด้านอุตสาหกรรม
    ในเขตอำเภอนามนไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีเพียงอุตสาหรรมภายในบ้านเช่น โรงสีข้าว จำนวน 49 แห่ง และลานมันสำปะหลังเพียง 3แห่ง
ด้านพนิชยกรรม มีร้านค้า 150 แห่ง ร้านค้าส่วนใหญ่เป็นร้านค้าเล็ก ๆ ในหมู่บ้าน และปั๊มน้ำมัน จำนวน 5 แห่ง ซึ่งเป็นขนาดเล็ก

 
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ

ประเภทแหล่งน้ำธรรมชาติ

 

ที่ตั้ง

ถนน/ซอย

หมู่ที่

ตำบล

อ่างห้วยแกง

-

3,6

ยอดแกง

ลำห้วยแกง

-

3,13

ยอดแกง

หนองสุโพธิ์

-

8

สงเปลือย

หนองท่อง

-

8

สงเปลือย

ห้วยยาว

-

15

สงเปลือย

หนองเทวดา

-

13

สงเปลือย

หนองทิศใหญ่

-

13

สงเปลือย

หนองทิศน้อย

-

13

สงเปลือย

ฝายน้ำล้นห้วยกุดสิมตอนใต้

-

13

สงเปลือย

ฝายน้ำล้นห้วยอีสุก

-

13

สงเปลือย

หนองเป่ง

-

4

สงเปลือย

หนองอีเก้ง

-

4

สงเปลือย

หนองดินจี่

.หนองน้อย - .ค้อ

7,16

สงเปลือย

หนองคอนเตรียม

.หนองคอนเตรียม - .หลักเหลี่ยม

3

หลักเหลี่ยม

หนองทองใต้

-

3

หลักเหลี่ยม

ลำห้วยทรายน้อยบน กลาง

-

5

หลักเหลี่ยม

หนองเหล่า

 

2

หลักเหลี่ยม

หนองบัว

 

4

หลักเหลี่ยม

หนองแจ้ง

 

9

หลักเหลี่ยม

  4.5 แรงงานและการมีงานทำ

ตำบล

ภาคการเกษตร

ภาคการอุตสาหกรรม

ผู้มีงานทำ(คน)

ผู้ว่างงาน(คน)

ผู้มีงานทำ(คน)

ผู้ว่างงาน(คน)

นามน

2,964

644

-

-

ยอดแกง

2,705

263

-

-

หลักเหลี่ยม

1,642

287

-

-

สงเปลือย

2,863

295

-

-

หนองบัว

1,476

276

-

-

รวม

11,650

1,765

-

-

  4.6 ถนนการไปรษณีย์ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์
การไฟฟ้า
ตำบล หมู่บ้าน ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าตาม หมู่บ้านต่าง ๆ ครบทุกหมู่บ้านแล้ว
การประปา
มีประปาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นน้ำที่สูบจากใต้ดินขึ้นไปพักไว้ที่ถังเก็บน้ำ จำนวน 66 หมู่บ้านการประปาส่วนภูมิภาคก่อสร้างระบบประปาผิดดินใน จำนวน 1 แห่ง
ไปรษณีย์
มีที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง
โทรศัพท์
ได้ขยายหมายเลขแล้วในเขตอำเภอนามน มีจำนวน 150 เลขหมาย

5. สภาพทางสังคม
 
5.1 การศึกษา
อำเภอนามนได้จัดการศึกษา ตั้งแต่อนุบาลถึงอุดมศึกษา
1. ระดับประถมศึกษา มีโรงเรียนสังกัด สปอ. จำนวน 20 แห่ง มีครู 244 คน มีนักเรียน 5,775 คน
2. ระดับมัธยมศึกษา มี 2 แห่ง มีครู 52 คน มีนักเรียน 1,478 คน
3. ระดับอุดมศึกษา มีสถาบันราชภัฎ 1 แห่ง

 
5.2 ศาสนา
ประชาชนเกือบทั้งหมดในพื้นที่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดทั้งสิ้น 22 แห่ง มีพระ 89 รูป  สามเณร 20 รูป แม่ชี - รูป

 
5.3 การสาธารณสุข
การให้การบริการทางด้านสาธารณสุขอำเภอนามน เมื่อเปรียบเทียบกับสถานบริการทางการแพทย์แล้ว พบว่ายังไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร
1. โรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง ขนาด 30 เตียง นายแพทย์ 2 นาย พยาบาล 20 คน เจ้าหน้าที่ 20 คน
2. สถานีอนามัย 6 แห่ง เจ้าหน้าที่ 25 คน โรคที่พบมากของอำเภอได้แก่ ไข้หวัด รองไป ได้แก่ บิด ปวดตามข้อ

 
5.4 อาชญากรรม
สถิติข้อมูลคดีอาญา ตั้งแต่ปี 2543 - 2545

ปี พ..

2543

2544

2545

ประเภทดี

เกิด(คดี)

จับ(ราย)

ผู้ต้องหา(คน)

เกิด(คดี)

จับ(ราย)

ผู้ต้องหา(คน)

เกิด(คดี)

จับ(ราย)

ผู้ต้องหา(คน)

คดีอุฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ

3

4

7

2

2

2

-

-

คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายทางเพศ

  10

8

10

16

9

10

11

4

4

คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์

 9

8

9

3

4

12

9

9

คดีที่น่าสนใจ

 17

1

2

1

1

1

7

4

6

คดีที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

 -

94

184

-  

125

179

-  

56 

97 

 

6. สภาพปัญญาสำคัญ
1. ปัญหาการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติดงแม่เผด เพื่อการทำการเกษตร เนื่องจากประชากรอพยพมาจากที่แห่งอื่นเข้ามาในพื้นที่มากขึ้นประสบปัญหาไม่มีที่ทำกิน และการบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ
2. ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ฤดูแล้งของทุกปี หลายหมู่บ้านมักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ยิ่งบางปีเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง จะทำให้ราษฎรเดือดร้อน โดยเฉพาะในเขตบริเวณที่ไม่มีแหล่งน้ำขนาดเล็กตามธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาของอำเภอ ได้บรรทุกน้ำไปแจกจ่ายยังหมู่บ้านที่ขาดแคลน
3. ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เกษตรมีความต้องการมาก เพราะราษฎรส่วนใหญ่ทำอาชีพด้านการเกษตร แต่ยังขาดการพัฒนาแหล่งน้ำให้นำมาใช้ประโยชน์ให้มาก การเกษตรกรรมส่วนใหญ่อาศัยจากน้ำธรรมชาติเป็นหลัก
4. ยังมีปัญหารองลงไปที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านต่าง ๆ ที่จะต้องพิจารณาแก้ไข คือ.-
4.1 ปัญหายาเสพติด
4.2 ปัญหาการว่างงาน
4.3 ปัญหาขาดความรู้ทางด้านการเกษตร
4.4 ปัญหาด้านการสาธารณสุข
4.5 ปัญหาการพนัน

 

หน้าแรก
 

Copyright © 2005  Namon Police Station
120  หมู่ 3 ำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ 46230
Tel / Fax.
0-4386-7055, 0-4386-7189